top of page

เจาะลึก ข่าวจริง ยิงประเด็นข่าวสร้างสรรค์
ส่งตรงและเข้าถึงผู้ประกอบการทั่วประเทศ

เท็นมะ (ประเทศไทย) ชูนโยบายด้านความปลอดภัย ตั้งเป้าขึ้นเป็นเบอร์ 1 สาขาต่างประเทศ

Office.jpg

เปิดวิสัยทัศน์ Mr. Kenichi Hoshi ผู้บริหารระดับสูงของบริษัท เท็นมะ (ประเทศไทย) จำกัด เผยถึงทิศทางการขับเคลื่อนธุรกิจในประเทศไทย ยกระดับกลุ่มธุรกิจการค้าการแข่งขันในระดับสากล

          Mr. Kenichi Hoshi President Director บริษัท เท็นมะ (ประเทศไทย) จำกัด และตำแหน่ง Director General Manager Overseas Production Division ของ Tenma Corporation เปิดโอกาสให้กองบรรณาธิการ Answer News Industrial Magazine สัมภาษณ์ถึงวิสัยทัศน์ในการดำเนินธุรกิจ ว่า เท็นมะ (ประเทศไทย) มีโรงงานอยู่ 2 สาขา ประกอบด้วย โรงงานที่ตั้งอยู่ภายในนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ระยอง จังหวัดระยอง กับ โรงงานที่จังหวัดปราจีนบุรี ทั้ง 2 โรงงาน ดำเนินธุรกิจภายใต้นโยบายที่ว่า “Safety First” โดยเน้นความปลอดภัยเป็นอันดับแรก

 

          โดยโรงงานที่นิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ระยอง หลักๆ จะดำเนินการผลิตสินค้า และมีชิ้นส่วนของอุปกรณ์สำนักงาน Office Automation (OA) ชิ้นส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้าซึ่งเป็นชิ้นส่วนของเครื่องปรับอากาศที่ผลิตให้กับแบรนด์ญี่ปุ่นที่มีชื่อเสียงเกือบทั้งหมด  โดยจะมียอดขายอยู่ที่ 30% และ 50% ตามลำดับ และส่วนที่เหลือจะเป็นสินค้าประเภทชิ้นส่วนยานยนต์  ส่วนโรงงานของเท็นมะที่จังหวัดปราจีนบุรี  จะผลิตชิ้นส่วนของอุปกรณ์สำนักงาน OfficeAutomation (OA) 100% และเป็นโรงงานที่เราดำเนินการก่อสร้างขึ้นมาใหม่ ถือเป็นโรงงานที่สร้างขึ้นมาเพื่อตอบโจทย์กับความต้องการของกลุ่มลูกค้าด้านการผลิตสินค้าเป็นสำคัญ

ผนังคอนกรีต

          ทั้งนี้ โรงงานของ เท็นมะ (ประเทศไทย) นิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ระยอง ได้เข้าร่วมเป็นหนึ่งกับเท็นมะ กรุ๊ป เมื่อปี 2011 ภายใต้การบริหารจัดการภายในเครือ เท็นมะ กรุ๊ป ซึ่งปัจจุบันอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ของประเทศญี่ปุ่นเรียบร้อยแล้ว  ด้วยข้อกำหนดและกฎเกณฑ์การเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ของประเทศญี่ปุ่น คือต้องมีปริมาณ (PBR) มากกว่า 1% ขึ้นไป และในส่วน Return on Equity (ROE) ต้องมี 8% ขึ้นไป ซึ่งเป็นหลักการของบริษัทที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ของประเทศญี่ปุ่น

          สำหรับ ‘เท็นมะ กรุ๊ป’ มีสาขาในต่างประเทศที่เป็นสาขาหลักๆ อยู่ 3 สาขา ประกอบด้วย เท็นมะ (ประเทศจีน) มีจำนวน 1 โรงงาน, เท็นมะ (ประเทศเวียดนาม) มีจำนวน 2 โรงงาน และเท็นมะ (ประเทศไทย) มีจำนวน 2 โรงงาน โดยในแต่ละสาขาจะมียอดขายเกิน 4,000 ล้านบาท/ปี ซึ่งถือว่าประเทศไทยเป็นสาขาที่สำคัญ เพราะมียอดขายเกิน 5,000 ล้านบาท/ปี ด้วยการวางแผนการลงทุนในระยะกลาง (Medium Term Plan) ปัจจุบันเริ่มเข้าสู่การดำเนินแผนงาน ครั้งที่ 4 ในช่วงต้นเดือนเมษายน 2567 ณ ปัจจุบันทางฝ่ายบริหารกำลังดำเนินการประชุมถึงแผนการดำเนินงาน ครั้งที่ 4 ซึ่งอยู่ในช่วงระหว่างการพิจารณา และปรึกษาหารือกันกับทีมผู้บริหารที่ประเทศญี่ปุ่นถึงทิศทางการดำเนินธุรกิจ อีกครั้ง

TENMA (THAILAND)

          ส่วนแผนดำเนินงานครั้งที่ 3 ที่ผ่านมา  Mr. Hoshi บอกว่าบริษัทฯ ได้รับผลกระทบจากวิกฤตการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่เกิดขึ้นทั่วโลก ถือเป็นสถานการณ์ที่ยากลำบากในการดำเนินธุรกิจเป็นอย่างมาก และเมื่อสถานการณ์เริ่มคลี่คลาย ก็พบกับปัญหาภาวะสงครามของประเทศยูเครน บวกกับปัญหาภาวะเงินเฟ้อในตลาดโลกส่งผลกระทบต่อการค้าขาย เพราะสถานการณ์ทั่วโลกที่เกิดขึ้นนี้ ทำให้แผนการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ ที่วางเป้าหมายเอาไว้ไม่เป็นไปตามแผนงาน ซึ่งในแผน ครั้งที่ 4 ที่เริ่มขึ้นในเดือนเมษายนในปี 2567 บริษัทฯ พยายามปรับกลยุทธ์เพื่อสอดรับกับสถานการณ์ในปัจจุบัน เพื่อทำให้ธุรกิจของกลุ่มบริษัทในเครือกลับมาฟื้นตัว

 

          โดยแผนการลงทุน Medium Term Plan ของประเทศไทย บริษัทฯ วางเป้าหมายในเรื่องของยอดขายอีก 3 ปีข้างหน้า เพิ่มขึ้นอีก 250 ล้านบาท แต่การที่จะทำให้ยอดขายเพิ่มขึ้นมานั้น ย่อมต้องมีการลงทุนเพิ่มขึ้นตามมาด้วย โดยโรงงานของ เท็นมะ (ประเทศไทย) ที่นิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ จังหวัดระยอง มีแผนที่จะขยายพื้นที่คลังสินค้าเพื่อจัดเก็บสินค้าให้ได้มากขึ้น โดยจะมีปรับพื้นที่ไลน์ประกอบ (Assembly) และจะนำระบบ Auto Rack เฟสที่ 2  เข้ามาใช้เพื่อเพิ่มพื้นที่และเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตให้สูงมากขึ้น และหลังจากการย้าย กลุ่ม Assembly เรียบร้อยแล้ว และในแผนการดำเนินงานเพื่อเพิ่มยอดขายให้ได้ 250 ล้านบาท บริษัทจะดำเนินการเพิ่มเครื่องจักร (Injection Machine) มาเสริมทัพเพื่อเพิ่มกำลังการผลิตให้แล้วเสร็จในช่วงปลายปี 2568 เพื่อที่จะสามารถเพิ่มยอดขายให้เป็นตามเป้าหมายที่บริษัทตั้งไว้

          อีกทั้ง การนำระบบ Automation เข้ามาช่วยดำเนินการในส่วนของ Digital Transformation (DX) ที่จะนำมาใช้กับโรงงานทั้ง 2 แห่งในประเทศไทย ส่วนสาเหตุที่มีการเพิ่มเครื่องจักรในครั้งนี้ ด้วยนโยบายด้านการลดต้นทุนการผลิต ตลอดจนลดในเรื่องของแรงงานด้วยปัจจัยในด้านค่าแรงงานที่เพิ่มขึ้น เทียบเท่าอัตราค่าจ้างในประเทศญี่ปุ่น เราจึงมีการวางแผนเพื่อรับมือกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต และในอีก 5 ปีข้างหน้า ทางบริษัทฯ จะนำเรื่อง Business Continuity Planning หรือ ‘BCP’ เข้ามาช่วยในการบริหารจัดการ รวมถึงยอด Order จากประเทศจีนที่จะนำมาผลิตที่ประเทศไทย และประเทศเวียดนาม

          ตลอดจนเทคโนโลยี และนวัตกรรมที่ บริษัท เท็นมะ (ประเทศไทย) จำกัด นำมาใช้เพื่อสร้างความแตกต่างของการดำเนินธุรกิจ โดยจะนำระบบ Automation ที่คิดค้นจากประเทศญี่ปุ่น รวมถึงระบบที่อำนวยความสะดวก และให้ความช่วยเหลือในการทำงานจากบุคลากร ทั้งในเรื่องของการนำ Robot และระบบ Jig เข้ามาช่วยดำเนินการ โดยในกลุ่มงานที่สามารถใช้ระบบ Automation ได้ก็จะดำเนินการปรับปรุง แต่หากส่วนที่ยังคงต้องพึ่งแรงงานคนก็ยังคงดำเนินการตามเดิม รวมถึงระบบ KATSU JIN  เป็นการดำเนินงานในรูปแบบของการสะสมสามารถผลิตได้หลากหลายโมเดล และ Lot ต้องมีปริมาณที่น้อยโดยเราจะสะสมไปเรื่อยๆ เพื่อช่วยในเรื่องของการลดต้นทุน และค่าแรงงาน

          สำหรับมาตรฐานสากลต่างๆ ที่โรงงานของเท็นมะ (ประเทศไทย) ได้รับและสร้างความเชื่อมั่นให้กับพันธมิตรทางธุรกิจ และลูกค้า ได้แก่ มาตรฐาน ISO 9001:2015, ISO 14001:2015, ISO 45001:2018 และมาตรฐาน IATF16949:2016 เนื่องจากเราเน้นในเรื่องของความปลอดภัยมาเป็นอันดับ 1 และในส่วนของ เท็นมะ กรุ๊ป ได้มีการทำกิจกรรม ESG (Environmental, Social and Corporate Governance) การดำเนินธุรกิจสู่การเติบโตอย่างยั่งยืนตลอดจนกำหนดในเรื่องสิ่งแวดล้อม และวัตถุดิบต่างๆ 

                   Mr. Hoshi กล่าวว่า ปัจจุบัน เท็นมะ (ประเทศญี่ปุ่น) มีโครงการจัดทำ Recycle Center ในรูปแบบการนำของเสียหรือของที่ไม่ใช้แล้วจากพื้นที่ต่างๆ เพื่อนำมารวบรวมและนำกลับมาใช้ใหม่โดยสิ่งของที่เราผลิตสามารถนำกลับมาใช้ได้ใหม่อีกครั้ง ส่งผลให้ บริษัท เท็นมะ (ประเทศไทย) จำกัด จึงได้มีการจัดกิจกรรมที่ลด CO2 โดยบริษัทฯ เรามีแผนสำคัญในการลดปริมาณ CO2 คือเราจะประกาศปริมาณ CO2 ที่ปล่อยออกระหว่างการผลิตสินค้าแต่ละชิ้น โดยเราจะนำระบบบัญชีที่สามารถจัดทำ BOM (Bill Of Material) การปล่อย CO2 ซึ่งระบบดังกล่าวเราจะสามารถคำนวณการปล่อย CO2 ที่เกิดขึ้นจริงได้ หลังจากนั้น เราจะเปรียบเทียบการปล่อย CO2 ที่เกิดขึ้นจริงกับค่ามาตรฐาน เพื่อที่เราจะสามารถพิจารณาการลด CO2 ลง แนวคิดนี้เหมือนกับการคำนวณต้นทุน ซึ่งทางบริษัทฯ เชื่อว่าเราจะสามารถเพิ่มระบบคำนวณ CO2 ในระบบบัญชีได้ ซึ่งในอนาคตเรามีแผนที่จะขยายระบบนี้เพราะมีความสำคัญมากนี่คืออีกหนึ่งตัวอย่างในการพยายามที่จะลดปริมาณ CO2 ที่เราปล่อยออกมาในระหว่างกระบวนการผลิต รวมถึงจัดกิจกรรมปลูกป่า โดยร่วมมือกันระหว่างโรงงานเท็นมะ (ประเทศไทย) นิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ระยอง จังหวัดระยอง กับ โรงงานที่ปราจีนบุรี เราพยายามผลักดันกิจกรรมต่างๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมบริเวณโรงงานของเรา โดยในเรื่องของ Green Industry ทางบริษัทฯ ตั้งเป้าที่จะไปให้ถึงระดับ 5 ซึ่งเป็นระดับที่สูงที่สุด

TENMA (THAILAND) NEWS

          นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังมีการทำกิจกรรม ESG เนื่องจากปัจจุบันหลายๆ หน่วยงาน หรือองค์กร ตลอดจนลูกค้าของเราต่างให้ความสำคัญในเรื่องสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างมาก ถือเป็นการสร้างโอกาสให้กับธุรกิจในการเติบโตอย่างยั่งยืน โดยตลอดระยะเวลา 23 ปีที่ผ่านมา ของบริษัท เท็นมะ (ประเทศไทย) จำกัด เราเน้นย้ำในเรื่องความปลอดภัย ควบคู่กับเรื่องคุณภาพ การขนส่ง และเรื่องของราคา ซึ่งราคาตรงนี้ไม่ได้หมายถึง ราคาถูก แต่หมายถึงราคาที่เหมาะสมกับคุณภาพ และด้วยประสบการณ์ ชื่อเสียง ที่ทางบริษัทฯ ได้สะสมมาทำให้ลูกค้าไว้วางใจ

          “โดยส่วนตัวพึ่งเข้ามาประจำการที่ บริษัท เท็นมะ (ประเทศไทย) จำกัด ได้เพียงครึ่งปี มีความรู้สึกว่ามีพลังบวกในการขับเคลื่อนต่อการทำงานทุกๆ วัน โดยรู้สึกว่าที่ญี่ปุ่นอาจจะไม่ค่อยพบเจอสิ่งเหล่านี้ ถ้าโรงงานที่ประเทศไทยดำเนินการในรูปแบบนี้ได้อย่างต่อเนื่อง เชื่อว่าเราจะสามารถเดินตามบริษัทแม่ที่ประเทศญี่ปุ่นได้ทัน และในฐานะที่ดำรงตำแหน่งฝ่ายบริหารใน เท็นมะ กรุ๊ป มีความตั้งใจให้ เท็นมะ (ประเทศไทย) เป็นอันดับ 1 ของสาขาต่างประเทศ คู่กับยอดขายเป็นอันดับ 1 ในเท็นมะ กรุ๊ป เช่นเดียวกัน สุดท้ายนี้ขอขอบคุณกลุ่มซัพพลายเออร์ ที่ร่วมสนับสนุน การจัดทำข่าวในครั้งนี้ สำหรับในส่วนของ Green Industry เรายังคงดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ควบคู่กับการเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจ”Mr. Hoshi กล่าวปิดท้าย

เจาะลึก ข่าวจริง ยิงประเด็นข่าวสร้างสรรค์
ส่งตรงและเข้าถึงผู้ประกอบการทั่วประเทศ

Contact us

bottom of page